บริการด้วยใจ ใส่ใจผู้ใช้ ก้าวไกลเทคโนโลยี : : Library UDRU

thzh-CNen

Easy minimal Template 3

 

     การศึกษาในประเทศไทย เป็นการ​ศึกษา​ที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[4] และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี[5] ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

    ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย[6] ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[7] ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา[8] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 โดยเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดับ

 

ระบบโรงเรียน

     สำหรับระบบการศึกษาในโรงเรียนของประเทศไทยนั้นจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ช่วงชั้นที่ 2 ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วงชั้นที่ 3 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3) และช่วงชั้นที่ 4 คือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)[10] โดยในช่วงชั้นที่ 4 นั้นนอกจากจะมีการจัดการศึกษาในสายสามัญแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาในสายอาชีพด้วย ซึ่งในระดับชั้น ปวช. 1 - 3 นั้นจะเทียบเท่ากับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนักเรียนที่เลือกสายสามัญมักมีความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาที่เลือกสายอาชีพมักวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การจ้างงานและศึกษาเพิ่มเติม[11]

 

   ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึงอาชีวศึกษาจำเป็นต้องมีการสอบข้อเขียนซึ่งจัดสอบโดยโรงเรียน ส่งผลให้ในบางครั้งอาจมีปัญหานักเรียนไม่มีที่เรียนได้[12] นอกจากนักเรียนจะต้องสอบข้อเขียนของโรงเรียนแล้ว นักเรียนจำเป็นต้องมีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (ONET) ซึ่งมีการจัดสอบในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และปลายภาคเรียนที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3[13] ยื่นประกอบในการพิจารณา ส่วนการทดสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 จะนำไปใช้ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย[14]

 

   สำหรับประเทศไทยนั้นมีการแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน[15] โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่างๆที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง[16] ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม เป็นหลัก ในเขตชนบทของประเทศไทยนั้นหลายๆโรงเรียนมีลักษณะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส คือ มีการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น หรืออาจมีการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาปฐมวัยด้วยก็ได้[17]

 

   เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณทางการศึกษาแก่โรงเรียนชนบท ส่งผลให้นักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนมากกว่าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดี[18] หรือเข้าศึกษาต่อในเขตเมืองของจังหวัดนั้น ๆ

 

แหล่งข้อมูล : https://th.wikipedia.org/

เข้าสู่ระบบ